"
กว่าง"หรือ "ด้วงกว่าง" เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่่ง ที่อยู่ในตระกูลด้วงทั้งหลานนั่นแหล่ะ มักพบมากทางภาคเหนือของไทย ซึ่ง
"ด้วงกว่าง" จะมีฤดูที่จะออกจากดินของมัน คือช่วงกลางหน้าฝน ไปจนถึงปลายหน้าฝน เพื่อที่จะหาคู่ผสมพันธุ์ สิ่งที่ด้วงกว่างชอบกิน นั่นก็คือ ผลไม้ ต้นไม้ที่มีรสหวาน ซึ่งช่วงฤดูที่
กว่างออก (กว่างออก คือฤดูที่กว่างออกมาจากดิน) จะตรงกับช่วงที่ลำไยสุกพอดี จึงมักจะพบกว่างได้ไม่ยาก ตามช่อลำไยของชาวสวนทางภาคเหนือ
หากอยู่ตามธรรมชาติแล้ว กว่างกินยอดอ่อนของต้นไผ่ ไผ่ซาง ไผ่รวก ต้นคราม ต้นชมพอ(ต้นหางนกยูง) ต้นผักตุ๊ด(ไม่รู้ว่าภาษากลางเรียกว่าอ่ะไำร อิ อิ) ต้นก่อ ต้นรัก เมื่อมนุษย์นำด้วงกว่างมาเลี้ยง เขาจะเลี้ยงมันด้วยอ้อย เพราะอ้อยมีรสหวาน เป็นที่โปรดปรานของ
ด้วงกว่างมากๆ
ด้วงกว่าง แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
-
กว่างกิ
-
กว่างแซม
-
กว่างโซ้ง
-
กว่างฮัก
-
กว่างแม่จิ๊ลุ้ม หรือ
กว่างอิลุ้ม หรือ
กว่างแม่อู้ด
-
กว่างกุ
-
กว่างก่อ
-
กว่างงวง
-
กว่างหนวดขาว
-
กว่างหาง
เมื่อถึงฤดูที่กว่างออก ชาวบ้าน และเด็กๆทางภาคเหนือ จะออกไปป่า เพื่อเสาะหากว่างที่มีเขายาวสวย และตัวขนาดใหญ่ ซึ่งจะพบได้ ในป่าลึก (เหมือนออกตามหาโปเกม่อน ประมาณนั้น) พอได้ตัวที่คิดว่าสวยงามแล้ว ก็จะนำมาเลี้ยงด้วยอ้อย ใช้เชือกมัดเขามันไว้ เพื่อไม่ให้มันบินหนี ประมาณ 5 วันขึ้นไป ก่อนจะเอามาชน เพื่อให้น้ำป่า(ความเป็นสัตว์ป่าของมัน) ได้ขับถ่ายออกไปจนหมดก่อน