กว่างโซ้ง

ขอบคุณภาพจาก : http://kwangkrung.com


                   ถ้าจะพูดถึงด้วงกว่าง ที่เป็นสุดยอดของด้วงกว่าง หรือนักสู้แห่งขุนเขาแล้ว ต้องยกให้ "กว่างโซ้ง"เลยครับ เพราะว่ากว่างโซ้ง เป็นกว่างที่มีรูปลักษณ์สวยงาม มีเขาที่ยาวใหญ่ น่าเกรงขาม มีความเป็นนักสู้ในตัว ชนแบบนักสู้ ไม่ยอมถอยง่ายๆ เขาของกว่างโซ้งจะอ้ากว้างมาก ตัวขนาดปานกลางถึงใหญ่เป็นกว่างที่นิยมนำมาชนกันมากที่สุด และค่อนข้างหายาก เพราะต้องคัดอย่างละเอียด ซึ่งในปัจจุบัน กว่างโซ้งนั้นเริ่มหายาก เพราะว่าสภาพอากาศ และที่อยู่อาศัย ของด้วงกว่างถูกทำลายนั่นเอง

กว่างแซม



กว่างแซม
ด้วงกว่าง
         กว่างแซม เป็นด้วงกว่างขนาดกลาง ที่มีเขายาวมากกว่ากว่างกิ จากที่ผู้เขียนได้มีประสบการณ์ในการหากว่าง มักจะพบกว่างแซมมากที่สุด ซึ่งเป็นกว่างที่ไม่ค่อยนิยมนำมาชนกัน มักจะนำมาให้เด็กเอาไว้เลี้ยงมากกว่า และกว่างแซมจะใช้เป็นกว่างล่อได้ดีมาก เพราะว่าขนาดตัวของกว่างแซม มีขนาดไกล้เคียงกับกว่างโซ้ง ที่เราจะนำไปชน กว่างแซมจึงเป็นคู่ช้อมได้ดี  ด้วงกว่าง
   
        กว่างแซม มักไม่นิยมนำมาเกาะอ้อยเพื่อเลี้ยงเหมือนกับกว่างโซ้ง เพราะว่าจะลดการสิ้นเปลืองอ้อยนั่นเอง แต่มักจะนำไปใส่ตะกร้าเล็กๆ รวมกับกว่างตัวเมีย และกว่างกิ แล้วจะนำอ้อยตัดเป็นท่อนๆใส่ไปให้มันกิน  ด้วงกว่าง

กว่างกิ


กว่างกิ
      "กว่างกิ"เป็นกว่างตัวผู้ มีเขาสั้น เวลาชนกัน จะไม่สามารถหนีบกันได้ แต่จะใช้เขาล่างที่ยาวกว่าเขาด้่านบนงัดกัน กว่างกิเป็นด้วงกว่างที่อดทนมาก มันจะไม่ยอมกันง่ายๆ ด้วยเหตุที่กว่างกิ มีเขาสั้น จึงไม่นิยมนำมาชนกัน แต่มักจะนำมาใช้เป็นกว่างล่อแทน

***กว่างล่อ คือกว่างที่นำมาเป็นคู่ฝึกให้กับด้วงกว่างตัวเก่งของเรานั่นเอง

กำเนิดด้วงกว่าง



      เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ตอนแรกๆแล้ว ด้วงกว่างมันเป็นตัวอย่างไร ก่อนจะมาเป็นด้วงกว่าง เราจะมาอธิบายให้ทราบกันนะค่ะ

      เมื่อด้วงกว่างตัวผู้ และด้วงกว่างตัวเมียผสมพันธุ์กันแล้ว ด้วงกว่างจะบินไปหาที่วางใข่ ด้วงกว่างตัวเมียมักจะเลือกกองขี้เลื่อย กองขี้หมูเก่าๆ หรือพื้นที่ร่มๆ และปราศจากสิ่งรบกวนเป็นที่วางใข่ เมื่อฟักออกจากใข่ ตัวด้วงกว่างจะเป็นตัวด้วง ดังภาพ จากนั้นเมื่อผ่านไปซักระยะ ตัวด้วงจะเริ่มเปลี่ยนรูปร่าง จนเป็นด้วงกว่างในที่สุด

ด้วงกว่างตอนที่ยังเป็นตัวอ่อน

มารู้จักกว่างกันเถอะ


     "กว่าง"หรือ "ด้วงกว่าง" เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่่ง ที่อยู่ในตระกูลด้วงทั้งหลานนั่นแหล่ะ มักพบมากทางภาคเหนือของไทย ซึ่ง "ด้วงกว่าง" จะมีฤดูที่จะออกจากดินของมัน คือช่วงกลางหน้าฝน ไปจนถึงปลายหน้าฝน เพื่อที่จะหาคู่ผสมพันธุ์ สิ่งที่ด้วงกว่างชอบกิน นั่นก็คือ ผลไม้ ต้นไม้ที่มีรสหวาน ซึ่งช่วงฤดูที่กว่างออก (กว่างออก คือฤดูที่กว่างออกมาจากดิน) จะตรงกับช่วงที่ลำไยสุกพอดี จึงมักจะพบกว่างได้ไม่ยาก ตามช่อลำไยของชาวสวนทางภาคเหนือ

      หากอยู่ตามธรรมชาติแล้ว กว่างกินยอดอ่อนของต้นไผ่ ไผ่ซาง ไผ่รวก ต้นคราม ต้นชมพอ(ต้นหางนกยูง) ต้นผักตุ๊ด(ไม่รู้ว่าภาษากลางเรียกว่าอ่ะไำร อิ อิ) ต้นก่อ ต้นรัก เมื่อมนุษย์นำด้วงกว่างมาเลี้ยง เขาจะเลี้ยงมันด้วยอ้อย เพราะอ้อยมีรสหวาน เป็นที่โปรดปรานของด้วงกว่างมากๆ

ด้วงกว่าง แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

-กว่างกิ

-กว่างแซม

-กว่างโซ้ง

-กว่างฮัก

-กว่างแม่จิ๊ลุ้ม หรือ กว่างอิลุ้ม หรือกว่างแม่อู้ด

-กว่างกุ

-กว่างก่อ

-กว่างงวง

-กว่างหนวดขาว

-กว่างหาง

เมื่อถึงฤดูที่กว่างออก ชาวบ้าน และเด็กๆทางภาคเหนือ จะออกไปป่า เพื่อเสาะหากว่างที่มีเขายาวสวย และตัวขนาดใหญ่ ซึ่งจะพบได้ ในป่าลึก (เหมือนออกตามหาโปเกม่อน ประมาณนั้น) พอได้ตัวที่คิดว่าสวยงามแล้ว ก็จะนำมาเลี้ยงด้วยอ้อย ใช้เชือกมัดเขามันไว้ เพื่อไม่ให้มันบินหนี ประมาณ 5 วันขึ้นไป ก่อนจะเอามาชน เพื่อให้น้ำป่า(ความเป็นสัตว์ป่าของมัน) ได้ขับถ่ายออกไปจนหมดก่อน